สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสิงห์บุรี ศูนย์ราชการจังหวัดสิงห์บุรี
ถ.สิงห์บุรี - บางพาน ต.บางมัญ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี 16000
โทรศัพท์ : 036-507-193 Email : si_ops@moc.go.th
ตราประจำจังหวัด
ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดสิงห์บุรี
สิงห์บุรีเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเมืองเก่าแก่ก่อนสุโขทัย สร้างขึ้นราว พ.ศ. 1650 โดยพระเจ้าไกรสรราช โอรสพระเจ้าพรหม (พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก) ซึ่งครองเมืองชัยปราการ (ฝาง) ได้สร้างขึ้น ครั้งเมื่อเสด็จพาไพร่พลมาครองเมืองลพบุรีตามรับสั่งพระราชบิดา ซึ่งเข้าใจว่าคงจะมาพักขึ้นบก ณ ที่เป็นที่ตั้ง เมืองสิงห์เดิม คือ ตั้งอยู่ลำน้ำจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี ในปัจจุบันใกล้วัดหน้าพระธาตุ มีเมืองเก่า เรียกว่า "บ้านหน้าพระลาน" เพื่อที่พระองค์จะเดินทางลงเรือที่วัดปากน้ำ แม่น้ำลพบุรีต่อมาได้ย้ายเมืองไปตั้งทางแม่น้ำน้อยตำบลโพสังโฆ ใต้วัดสิงห์ ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอค่ายบางระจัน
ครั้น พ.ศ. 2310 เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าแล้ว จึงย้ายเมืองสิงห์มาตั้งทางแม่น้ำเจ้าพระยา ริมปากคลองนกกระทุง ตำบลบางมอญ (ปัจจุบัน คือ ตำบลต้นโพธิ์ จังหวัดสิงห์บุรี) การย้ายครั้งนี้น่าจะเป็นสมัยเดียวกับการตั้งเมืองอ่างทองในสมัยธนบุรี ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราว พ.ศ. 2473 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้มีการจัดรูปการปกครองเมืองระบอบมณฑลเทศาภิบาล จึงได้จัดตั้งกรุงเก่า (มณฑลอยุธยา) ขึ้นประกอบด้วยเมือง 8 เมือง คือ กรุงเก่า พระพุทธบาท พรหมบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และ อินทร์บุรี ใน พ.ศ. 2439-2440 ได้มีการยุบเมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรีลง ให้เป็นอำเภอขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี และย้ายไปตั้งที่ตำบลบางพุทรา อันเป็นที่ตั้งจังหวัดสิงห์บุรีในปัจจุบันเนื่องจากมีชัยภูมิที่ดีกว่าเดิม เพราะพื้นที่เป็นเนินสูง น้ำท่วมไม่ถึง
ขนาดที่ตั้ง
จังหวัดสิงห์บุรี ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 142 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 822.478 ตารางกิโลเมตร หรือ 514,049 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท และอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก ติดอำเภอบ้านหมี่ และอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
ทิศใต้ ติดอำเภอไชโย อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง
ทิศตะวันตก ติดอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท และอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ และลักษณะทางธรณี
1.ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดสิงห์บุรีมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนตื้นซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเวลานาน มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดิน เหมาะแก่การท้ากสิกรรม พื้นที่กว่าร้อยละ 80 เป็นที่ราบเรียบกว้างขวาง มีความลาดเอียงของพื้นที่น้อยมาก จึงเกิดเป็นหนองบึงขนาดต่าง ๆ ทั่วไป พื้นที่มีระดับความสูงเฉลี่ยประมาณ 17 เมตร จากระดับน้ำทะเล ดังนั้นในฤดูน้ำหลากจึงมักมีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานๆ พื้นที่ทางด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพค่อนข้างราบ พื้นดินเป็นลูกคลื่นลอนลาดอันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำบนผิวดิน จนเกิดเป็นร่องกว้างทั่วไป
2. ลักษณะทางธรณี
สัณฐานของพื้นที่ แบ่งออกได้เป็น 4 แบบ คือ
1. พื้นที่ที่เป็นคันดินตามธรรมชาติ อยู่ตามสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และร่องน้ำเก่า มี ลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ กว้างไม่เกินหนึ่งกิโลเมตร มีความยาวขนานตามแนวลำน้ำ มีระดับค่อนข้างสูงกว่าที่ราบข้างเดียว ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนและเป็นแหล่งชุมชนใหญ่ๆ เช่น อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภออินทร์บุรี อำเภอพรหมบุรี และอำเภอท่าช้าง
2. พื้นที่ที่เป็นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึงอยู่ใกล้แม่น้ำ หลังคันดินธรรมชาติ เกิดจากการเอ่อล้นของน้ำ จึงมี แบนราบเรียบกว้างขวาง มีระดับค่อนข้างต่ำ มักมีน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ใช้เป็นพื้นที่ท้าการเกษตรจ้าพวกนาข้าว
3. พื้นที่เป็นลอนลาด อยู่ทางด้านทิศตะวันตกบริเวณอำเภอค่ายบางระจัน และบางส่วนของอำเภอ บางระจัน มีลักษณะเป็นลูกระนาด หรือลูกคลื่นลอนลาด เกิดจากน้ำผิวพื้นพัดพามากัดเซาะจนเป็นร่องกว้าง มีระดับค่อนข้างสูง น้ำท่วมไม่ถึง ใช้เป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรจ้าพวกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด เป็นต้น
4. พื้นที่เป็นหนองบึง อยู่ทางตอนกลางของพื้นที่ใกล้แม่น้ำล้าคลองและที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึง มี ลักษณะเป็นที่ราบลุ่มต่ำ มีน้ำขังอยู่ตลอดเวลาที่มีระดับต่ำมาก น้ำจากบริเวณข้างเคียงจึงไหลมารวมกัน มีลักษณะสัณฐานกลมมน ในบริเวณที่มีระดับน้ำขังค่อนข้างตื้น มักใช้ท้านาน้ำลึก ส่วนที่มีน้ำขังมาก ๆ มักปล่อยให้ว่างเปล่า
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ โดยทั่วไปคล้ายกับจังหวัดอื่นในภาคกลาง แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มกราคม
การปกครองและประชากร
แบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ 43 ตำบล 364 หมู่บ้าน 14 ชุมชน ดังนี้
1) อำเภอเมืองสิงห์บุรี มี 8 ตำบล 58 หมู่บ้าน 14 ชุมชน
2) อำเภออินทร์บุรี มี 10 ตำบล 105 หมู่บ้าน
3) อำเภอพรหมบุรี มี 7 ตำบล 42 หมู่บ้าน
4) อำเภอบางระจัน มี 8 ตำบล 77 หมู่บ้าน
5) อำเภอท่าช้าง มี 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน
6) อำเภอค่ายบางระจัน มี 6 ตำบล 59 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมือง จ้านวน 2 แห่ง เทศบาลตำบล จ้านวน 6 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 33 แห่ง